ทำไม “พลังงานความร้อนใต้พิภพ” ถึงมีความสำคัญ
ปัจจุบันมีเพียง 49 ประเทศทั่วโลกที่นำพลังงานความร้อนใต้พิภพมาผลิตไฟฟ้า โดยรวมกำลังผลิตติดตั้งทั้งหมดประมาณ 16.17 เมกะวัตต์ ในปี 2025 (globalenergymonitor.org) และยังมีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่องทุกปี แม้ประเทศไทยมีบ่อน้ำพุร้อนมากกว่า 90 แห่ง และได้มีการศึกษาศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งน้ำพุร้อนหลายแห่ง แต่กลับยังไม่มีการใช้ประโยชน์จากพลังงานนี้อย่างมีกิจลักษณะ โดยมีโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย เช่น คือ ที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีกำลังผลิต 300 กิโลวัตต์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมี “ศักยภาพที่ยังไม่ถูกใช้อย่างเต็มที่” และเป็นโอกาสที่ดีในการพัฒนาพลังงานสะอาดที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง (Baseload) ซึ่งมีความเสถียรและปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำมากเมื่อเทียบกับแหล่งพลังงานอื่นๆ เช่น ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ
ทิศทางนโยบายพลังงานแห่งชาติ PDP 2024
ร่างแผนพลังงานแห่งชาติฉบับใหม่ (PDP 2024) ได้ตั้งเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดเป็นสัดส่วน 51% ในปี ค.ศ. 2037 ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการเป็นประเทศบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 นอกจากนี้ มาตรการจัดเก็บภาษีคาร์บอนข้ามพรหมแดน (CBAM) ของสหภาพยุโรปยังเป็นแรงผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมไทยต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดโลก ทั้งนี้ การมุ่งเน้นการพัฒนาด้านพลังงานสะอาดจะช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับอุตสาหกรรมพลังงานของประเทศไทย นอกจากช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก และขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำด้านพลังงานสะอาดระดับสากลอีกด้วย
เทคโนโลยีของเรา (GeoAgni)
GeoAgni เลือกใช้เทคโนโลยี Advanced Geothermal System (AGS) รูปแบบปิด (Closed-Loop) เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และศักยภาพของแหล่งความร้อนใต้พิภพในประเทศไทย ซึ่งมีอุณหภูมิใต้ดินต่ำ-ปานกลาง โดยมีข้อดีที่ชัดเจนดังแสดงในตารางต่อไปนี้:
เทคโนโลยี | จุดเด่น | ผลลัพธ์ที่ได้ |
Closed-loop system | ใช้ของเหลวหมุนเวียนในท่อปิด ไม่สัมผัสน้ำบาดาล | ลดการปนเปื้อนและไม่ปล่อยก๊าซพิษ |
ระบบปิดเต็มรูปแบบ | ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจนเกือบเป็นศูนย์ | เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสูงมาก |
ระบบโมดูลาร์ | ขยายกำลังผลิตได้ตั้งแต่ 5 mw – 100+mw | ปรับขนาดได้ตามความต้องการใช้งาน |
ประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีนี้
- 24/7 baseload clean energy
ผลิตไฟฟ้าฐานอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมงโดยปล่อยคาร์บอนต่ำ ช่วยเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าและลดความเสี่ยงด้านพลังงาน - Low Opex
ต้นทุนดำเนินงานระยะยาวต่ำ เพราะไม่มีค่าเชื้อเพลิงและอุปกรณ์ที่สึกหรอ ลดภาระค่าใช้จ่ายทั้งด้านซ่อมบำรุงและจัดหาเชื้อเพลิง - Small Land Footprint
ใช้พื้นที่ติดตั้งน้อยกว่าโซลาร์ฟาร์มหรือกังหันลมหลายเท่า เหมาะกับพื้นที่อุตสาหกรรมหรือเขตชนบทที่ต้องการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียว - No Feedstock Required
ไม่ต้องนำเข้าเชื้อเพลิงจากที่ือื่น จึงลดความผันผวนของต้นทุนพลังงานและเสริมความเป็นอิสระด้านพลังงาน
บทสรุป
GeoAgni เชื่อมั่นว่าการนำพลังงานความร้อนใต้พิภพมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ คือกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายด้านพลังงานสะอาด และขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สู่เป้าหมายประเทศปลอดคาร์บอนในอนาคตอันใกล้