ไฮโดรเจนสีเทา น้ำเงิน เขียว ต่างกันอย่างไร?

ไฮโดรเจนสีเทา น้ำเงิน เขียว ต่างกันอย่างไร?

ไฮโดรเจนเผาไหม้แล้วไม่ปล่อยคาร์บอน แต่ “สะอาด หรือไม่สะอาด” ขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิตและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจึงมีการแบ่งเป็น 3 สีหลัก ได้แก่

1. ไฮโดรเจนสีเทา (Grey Hydrogen)

  • ผลิตอย่างไร? 

 

ผลิตโดยกระบวนการ Steam Reforming โดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุดิบหลัก และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สู่ชั้นบรรยากาศ

 

  • คาร์บอนฟุตพริ้นต์ สูงที่สุด

 

Steam Reforming คืออะไร? (อธิบายสั้น ๆ)

 

กระบวนการที่ใช้ความร้อนสูงในการทำปฏิกิริยาระหว่างก๊าซธรรมชาติ (ส่วนใหญ่เป็นมีเทน) กับไอน้ำ ทำให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนและคาร์บอนไดออกไซด์.

 

  • ผลลัพธ์: ได้ไฮโดรเจนประมาณ 70 % ของก๊าซตั้งต้น แต่ CO₂ ทั้งหมดถูกปล่อยสู่บรรยากาศ ทำให้ SMR เป็นสาเหตุที่ไฮโดรเจนสีเทาถูกมองว่า “ไม่สะอาด”

ไฮโดรเจนสีน้ำเงิน (Blue Hydrogen)

  • ผลิตอย่างไร

 

ผลิตโดยกระบวนการ Steam Reforming เช่นเดียวกับไฮโดรเจนสีเทา แต่มีการดักจับและกักเก็บ CO2 ที่เกิดขึ้น (Carbon Capture, Utilization, and Storage – CCUS) เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

 

  • ต่างกันตรงไหน? เพิ่มระบบดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) ก่อนควันเสียออกสู่บรรยากาศ
  • ผลลัพธ์ ปล่อย CO₂ ลดลงมากกว่าครึ่ง

ไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen)

  • ผลิตด้วย Electrolysis แยกน้ำ (H₂O) เป็นไฮโดรเจนกับออกซิเจน
    ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
    • ลม
    • แสงอาทิตย์
    • ความร้อนใต้พิภพ (ไฟฟ้าหรือไอน้ำจากชั้นหินร้อนใต้ดิน ทำงานได้ตลอด 24 ชม.)
  • คาร์บอนฟุตพริ้นต์ ศูนย์ เพราะไม่เผาไหม้เชื้อเพลิง
  • ข้อสังเกต ต้นทุนยังสูงกว่าสีเทา/น้ำเงิน แต่ลดลงต่อเนื่องเมื่อเทคโนโลยีและกำลังผลิตเพิ่มขึ้น

เปรียบเทียบสั้น ๆ

สี วิธีผลิตหลัก ปล่อย CO₂ เสถียรภาพการผลิต ต้นทุน (เฉลี่ย)*
เทา SMR สูง สูง ต่ำ
น้ำเงิน SMR + CCS ปานกลาง สูง กลาง
เขียว Electrolysis จาก ลม/แดด/ความรัอนใต้พิภพ 0 ลม/แดด (แปรผัน)
พลังงานใต้พิภพ (มีความต่อเนื่อง)
สูง แต่ลดลงเรื่อย ๆ

สรุป

ไฮโดรเจนสีเทา ราคาเบาแต่คาร์บอนหนัก

 

ไฮโดรเจนสีน้ำเงิน ลดคาร์บอนลงพอสมควร เหมาะใช้ช่วงเปลี่ยนผ่าน

 

ไฮโดรเจนสีเขียว สะอาดที่สุด เพราะใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เช่น ลม แดด เป็นต้น ทั้งนี้การผลักดันการผลิตไฮโดรเจนด้วยพลังงานความร้อนใต้พิภพที่ให้พลังงานต่อเนื่อง 24 ชม. สามารถเติมข้อได้เปรียบเรื่องเสถียรภาพให้ไฮโดรเจนสีเขียวพร้อมก้าวสู่พลังงานหลักในโลก Net Zero

สีอื่น ๆ ของไฮโดรเจน (นอกเหนือจากเทา / น้ำเงิน / เขียว)

  • ไฮโดรเจนสีเหลือง (Yellow Hydrogen)

    • ผลิตด้วย Electrolysis แยกน้ำเหมือนสีเขียว แต่ไฟฟ้าที่ใช้มาจาก “ผสม” ระหว่างพลังงานหมุนเวียนกับไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลจึงยังมีการปล่อยคาร์บอนอยู่บ้าง 

  • ไฮโดรเจนสีชมพู หรือ ม่วง (Pink / Purple Hydrogen)

    • ใช้ไฟฟ้าที่ได้จากโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ ป้อนให้กระบวนการ Electrolysis ทำให้ไม่ปล่อย CO₂ ขณะผลิต แต่ต้องคำนึงถึงต้นทุนและการจัดการกากนิวเคลียร์ 

  • ไฮโดรเจนสีฟ้าน้ำทะเล (Turquoise Hydrogen)

    • ผลิตด้วย Methane Pyrolysis – แตกโมเลกุลก๊าซธรรมชาติด้วยความร้อนสูง ได้ไฮโดรเจนและ “คาร์บอนแข็ง” แทนที่จะปล่อย CO₂ สู่ชั้นบรรยากาศ จัดเป็นเส้นทางคาร์บอนต่ำที่ยังอยู่ช่วงสาธิต

  • ไฮโดรเจนสีน้ำตาล / ดำ (Brown / Black Hydrogen)

    • แยกไฮโดรเจนจาก ถ่านหิน ผ่านกระบวนการ Gasification ที่อุณหภูมิสูง — ปล่อย CO₂ มากที่สุด แต่ต้นทุนต่ำ จึงยังใช้ในอุตสาหกรรมหนักบางประเทศ